วิธีการเช็คสเปคคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง

10 ตุลาคม ค.ศ. 2024 โดย
วิธีการเช็คสเปคคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง
พ.อ.ท.เข้มแข็ง ปิลกศิริ


​สำหรับ วิธีดูสเปคคอมของเรานั้นมีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี ทั้งใช้โปรแกรม และไม่ต้องใช้โปรแกรม ซึ่งเป็นสิ่งที่คนใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนควรจะรู้ เพื่อนำไปตรวจสอบเวลาซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ หรือใช้ในการติดตั้งไดร์เวอร์ เป็นต้น โดยในทิปส์นี้ เราจะมาเรียนรู้การดูสเปคคอมพิวเตอร์โดยไม่ใช้โปรแกรมช่วย และวิธีดูสเปกคอมด้วยการใช้โปรแกรมอย่าง โปรแกรม CPU-Z และ โปรแกรม GPU-Z เข้ามาช่วย

สามารถทำได้ทั้งบนระบบปฏิบัติการ Windows 10, Windows 8.1, Windows 8, Windows 7, Windows Vista และ Windows XP มีขั้นตอนอย่างไร มาดูกันเลย

เรามาเริ่มจากการดูสเปคเบื้องต้นกันก่อน บนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ข้อมูลสเปคเครื่องจะถูกรวบรวมเอาไว้ให้แล้วในหน้า About 

วิธีดูสเปกคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม

วิธีดูสเปคคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

Windows 10

  • คลิก "ปุ่ม Start" แล้วเข้าไปที่ "เมนู Settings" 
  • คลิกที่ "เมนู System" แล้วเลื่อนหา "เมนู About" แล้วคลิกเข้าไปข้างใน

Windows เวอร์ชันเก่า

  • หากเป็น Windows 8.1 หรือ 8 ให้คลิกขวาที่ "ปุ่ม Start" แล้วเลือก "เมนู System"
  • หากเป็น Windows XP หรือ 7 ให้คลิกขวาที่ "ไอคอน My Computer" แล้วเลือก "เมนู Properties"

วิธีการอ่านข้อมูลสเปกคอมพิวเตอร์

  • Device Name : ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา (*ข้อมูลสำคัญเวลาทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย)
  • Processor : ชื่อรุ่น และความเร็วซีพียูของคอมพิวเตอร์
  • Installed RAM: ขนาดความจุของหน่วยความจำชั่วคราว หรือแรม (*RAM) ที่มี
  • Device ID: รหัสของอุปกรณ์ มีประโยชน์สำหรับไว้ให้ช่างใช้ยืนยันอุปกรณ์เวลาที่คอมพิวเตอร์มีปัญหา
  • Product ID: รหัสผลิตภัณฑ์ ที่เชื่อมโยงกับระบบปฏิบัติการของผู้ใช้
  • System Type : รูปแบบของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Architecture) ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ คือ 32 บิต (x86) หรือ 64 บิต (x64)
  • Pen and Touch: ข้อมูลว่าหน้าจอของเรารองรับการสั่งงานผ่านระบบสัมผัสหรือปากกาด้วยหรือไม่
  • Windows Edition : ประเภทของระบบปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่
  • Version: เวอร์ชันของระบบปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่
  • Installed on: วันที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ
  • OS Build: บอกว่า Windows ที่ติดตั้งพัฒนาอยู่ใน Build เวอร์ชันไหน
  • Experience : เวอร์ชันของตัว Experience Pack (พวกคุณสมบัติ หรือแอป ที่อัปเดตแยกออกมาจาก Windows Update)
ที่มา :   ทักษะดิจิทัล | DICT (rtaf.mi.th)